“ช่วงนี้ขายของยากมากเลย”
ไม่ใช่แค่คำบ่นประจำวันของแม่ค้าตลาดนัด แต่เป็นเสียงสะท้อนที่คล้ายกัน ตั้งแต่กิจการขนาดเล็ก พ่อค้าสตรีทฟู้ด ไปจนถึง เจ้าของร้านอาหาร เชฟชื่อดังระดับประเทศ แม้แต่นักลงทุน เทรดหุ้นบนตึกสูง ที่เริ่มรู้สึกว่า "เงินมันฝืด" มากกว่าที่ตัวเลข GDP จะบอก
เศรษฐกิจไทยในปี 2568 นี้ เริ่มส่งสัญญาณเตือนออกมาเรื่อยๆ จากยอดขายกิจการห้างร้านในหลายธุรกิจ ที่เผยว่า บางสาขาหายไปกว่า 30-50%
ขณะเครดิตบูโร อัปเดตข้อมูลล่าสุด ว่า หนี้ครัวเรือนไทยยังพุ่งแตะระดับ 16.2 ล้านล้านบาท ไม่นับรวม คนจำนวนไม่น้อยถูกค้าง “เงินเดือน” ถูกให้ออกจากงานอย่างเงียบ ๆ แบบไม่ทันตั้งตัว
อีกทั้งยังเกิดกระแสไวรัล แชร์ต่อ โพสต์ของ “เบิร์ท มานิตย์“ นักลงทุนรุ่นใหม่ ที่ออกมาเตือนว่าเศรษฐกิจไทยดิ่งเหว เข้าสู่ Survival Mode 100% แล้ว จนตัวเอง ตัดใจขายรถ Porsche ทิ้ง ยอมขาดทุน 4 ล้านบาท เพื่อลดรายจ่าย
ด้านนักวางแผนการเงินเตือนให้ “เตรียมแผนการเงินให้พร้อม” เพราะผลกระทบจากสงครามการค้ารอบใหม่ โดยเฉพาะนโยบายภาษีของทรัมป์ อาจซัดเศรษฐกิจไทยรอบใหญ่อีกครั้งในครึ่งปีหลัง จนมีคนเปรียบเปรย “เศรษฐกิจไทย” ตอนนี้ว่าหมือนหม้อที่ไฟลุกอยู่ข้างใต้ แต่ฝาไม่เปิดออก มองเผิน ๆ เหมือนไม่ร้อนแรง แต่จริง ๆ แล้ว กำลัง “เผาจริง”
กลายเป็นคำถามสำคัญ เกิดอะไรขึ้นกับ “เศรษฐกิจไทย” เวลานี้ บนความจริงที่ว่า เราเป็นประเทศที่ฟื้นตัวจากวิกฤตโควิด-19ได้ช้า อยู่ในกลุ่มท้ายๆ ของโลก (ลำดับ 72 จาก 81 ประเทศ)
Thairath Money เจาะบทวิเคราะห์ของ SCB EIC ซึ่งเผยว่า ขณะนี้เศรษฐกิจไทย เต็มไปด้วย “แผลเป็น” หลังโควิด-19 นับตั้งแต่เผชิญ วิกฤติครั้งแรก ช่วงปี 2563 ซึ่งทำให้ โอกาสทางเศรษฐกิจของไทยหายไปมากถึง 1 ใน 3 ของมูลค่าเศรษฐกิจไทยในปี 2567 หรือราว 6 ล้านล้านบาท
สาเหตุส่วนหนึ่งเพราะทุกภาคส่วนได้รับผลกระทบจากโควิดรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นภาคธุรกิจ ภาคครัวเรือน รวมถึงภาคการคลัง จนเกิดรอยแผลเป็นซ้ำเติมปัญหาเชิงโครงสร้างของเศรษฐกิจไทยที่มีอยู่เดิม โดยเฉพาะแผลเป็นในภาคธุรกิจและภาคครัวเรือน ซึ่งกำลังปรากฎออกมาเป็น “ความเปราะบาง” ในตอนนี้ แยกแยะให้เห็นภาพ ดังนี้
1. ธุรกิจฟื้นไม่เท่ากัน K-shape Recovery ชัดเจน
2. “บริษัทผีดิบ” เพิ่มขึ้น ไม่โตแต่ยังไม่ตาย
3. แนวโน้มเปิด-ปิดกิจการชี้สัญญาณลบ
4. ภาคการผลิตเริ่มถอย
1. รายได้ครัวเรือนฟื้นช้า – หนี้ยังไม่ลด
1 ใน 3 ของครัวเรือนที่มีหนี้ ยังไม่สามารถฟื้นตัวได้ในช่วง 5 ปีข้างหน้า
กลุ่มฟื้นตัวช้า คือ รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 30,000 บาท ครัวเรือนที่อาจฟื้นตัวภายใน
ส่วนกลุ่มรายได้ไม่เกิน 50,000-60,000 บาท และทำงานใน “ภาคบริการ”
จะฟื้นตัวช้ากว่ากลุ่มอื่น เพราะได้รับผลกระทบหนักจากโควิด
"ภาคเศรษฐกิจหลักที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด ทั้งจากธุรกิจท่องเที่ยวที่หดตัว และธุรกิจบริการที่เกี่ยวข้องต้องหยุดชะงักในช่วงการระบาด สาเหตุหลักเพราะไทยพึ่งพาการท่องเที่ยวสูงเชื่อมโยงการจ้างงานแรงงานจำนวนมาก"
2.ตลาดแรงงานฟื้นไม่ทั่วหน้า
3.หนี้ครัวเรือนยังสูง แม้จะเริ่มลดลงบ้าง
ภาพรวมทั้งหมดนี้ อาจชี้ไปยัง "ภาวะเศรษฐกิจซึม" แบบกดทับสองชั้น ชั้นแรก คือ ภาคธุรกิจที่ไม่สามารถขยายกิจการ หรือลงทุนเพิ่ม ชั้นที่สอง คือ ครัวเรือนที่ไม่สามารถจับจ่าย ใช้หนี้ หรือเก็บเงินได้ ความซึมของเศรษฐกิจจึงเป็นผลพวงจากการที่ทั้งฝั่ง "ผู้ผลิต" และ "ผู้บริโภค" ต่างก็อ่อนแรงไปพร้อมกัน
สุดท้ายแล้ว เมื่อเศรษฐกิจทั้งประเทศยังโอนเอนไม่หยุด ทั้งภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนต่างเต็มไปด้วย “แผลเป็น” ที่ยังรักษาไม่หาย คำถามใหญ่ที่ตามมา คือ เศรษฐกิจไทยจะเดินหน้าไปทางไหน และ ประชาชนอย่างเรา ๆ จะไปทางไหนได้บ้าง ในสมรภูมิที่เปราะบางขนาดนี้
ที่มา : SCB EIC
ติดตามข้อมูลด้านเศรษฐกิจและนโยบายรัฐบาล กับ ThairathMoney ได้ที่
ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้ https://www.facebook.com/ThairathMoney