เมื่อเอ่ยถึงอาการวัยทอง โดยส่วนใหญ่มักนึกถึงผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่ฮอร์โมนเอสโทรเจน (Estrogen) ลดลง แต่ผู้ชายก็มีอาการวัยทองได้เช่นกัน โดยเรียกว่าภาวะพร่องฮอร์โมน ซึ่งเกิดจากฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) ลดลง ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายและใจได้ไม่ต่างจากผู้หญิง

ข้อมูลจากเบซินส์ เฮลท์แคร์ พบว่า ปัจจุบันมีผู้ชายจำนวนมากที่ประสบปัญหาฮอร์โมนเพศชายลดลงโดยไม่รู้ตัว โดยเฉพาะในกลุ่มอายุ 45 ปีขึ้นไป ซึ่งพบได้มากถึง 40-60% เป็นภาวะที่ร่างกายของผู้ชายผลิตฮอร์โมนเพศชายไม่เพียงพอต่อความต้องการ ฮอร์โมนเพศชายที่สำคัญคือ “เทสโทสเตอโรน” ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการรักษาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ กระดูก และระบบสืบพันธุ์

ทั้งนี้ภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย ไม่ได้มีผลเฉพาะเรื่องสมรรถนะทางเพศเท่านั้น แต่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคเรื้อรัง เช่น โรคอ้วนลงพุง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง

อาการผู้ชายวัยทอง 

1. ความต้องการทางเพศลดลง

ฮอร์โมนเพศชายมีบทบาทสำคัญต่อความต้องการทางเพศในผู้ชาย ผู้ชายที่มีภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชายจะมีความปรารถนาที่จะมีเพศสัมพันธ์ลดลงอย่างเห็นได้ชัด

2. อวัยวะเพศแข็งตัวลดลง

ฮอร์โมนเพศชายเป็นเพียงหนึ่งในหลาย ๆ ปัจจัยที่ช่วยในการแข็งตัวของอวัยวะเพศชาย แต่หลายครั้งปัญหาสุขภาพอื่น ๆ เช่น เบาหวาน, ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง ก็มีบทบาททำให้การแข็งตัวของอวัยวะเพศลดลงได้เช่นกัน

3. ปริมาณน้ำอสุจิต่ำ

เทสโทสเตอโรนมีบทบาทในการผลิตน้ำอสุจิซึ่งเป็นของเหลวที่ช่วยในการเคลื่อนที่ของอสุจิ ผู้ชายที่มีภาวะฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนต่ำ หรือภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย มักจะสังเกตเห็นการลดลงอย่างชัดเจนของปริมาณน้ำอสุจิของตนเองในระหว่างการหลั่ง

...

4. ผมร่วง

ภาพจาก iStock
ภาพจาก iStock

ฮอร์โมนเพศชายมีบทบาทในการงอกของเส้นผม ศีรษะล้านเป็นส่วนหนึ่งของความแก่ชราตามธรรมชาติสำหรับผู้ชายหลายคน นอกจากจะเกิดจากการสืบทอดพันธุกรรมมาแต่กำเนิดแล้วนั้น ผู้ชายที่มีภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชายก็อาจมีอาการผมหรือขนบนร่างกายร่วงอย่างเห็นได้ชัดเช่นกัน

5. ความเหนื่อยล้า

คุณรู้สึกเหนื่อยตลอดเวลาแม้จะนอนหลับพักผ่อนอย่างเต็มที่แล้ว หรือหากคุณพบว่าการสร้างแรงบันดาลใจในการออกกำลังกายเป็นเรื่องที่ทำได้ยากอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน

6. การสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ

เนื่องจากฮอร์โมนเพศชายมีบทบาทในการสร้างกล้ามเนื้อ ผู้ชายที่มีภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำ อาจสังเกตเห็นมวลกล้ามเนื้อลดลงซึ่งอาจส่งผลต่อสมรรถภาพการทำงาน

7. ปริมาณไขมันในร่างกายเพิ่มขึ้น

ผู้ชายที่มีภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชายอาจมีปริมาณไขมันในร่างกายเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งบางครั้งอาจมีอาการเต้านมโต ผลกระทบนี้เชื่อว่าเกิดจากความไม่สมดุลระหว่างฮอร์โมนเพศชายและฮอร์โมนเพศหญิง (เอสโตรเจน) ภายในผู้ชาย

8. มวลกระดูกลดลง

โรคกระดูกพรุนหรือมวลกระดูกบางลงเป็นภาวะที่มักเกิดกับผู้หญิง อย่างไรก็ตามผู้ชายที่มีเทสโทสเตอโรนต่ำก็สามารถสูญเสียมวลกระดูกได้เช่นกัน เพราะฮอร์โมนเพศชายช่วยในการผลิตและเสริมสร้างกระดูก ดังนั้นผู้ชายที่มีเทสโทสเตอโรนต่ำโดยเฉพาะผู้ชายที่มีอายุมากจะมีปริมาณมวลกระดูกลดลงและเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหักได้ง่าย

9. อารมณ์เปลี่ยนแปลง

เนื่องจากฮอร์โมนเพศชายมีอิทธิพลต่อกระบวนการทางกายภาพหลายอย่างในร่างกายจึงสามารถส่งผลต่ออารมณ์และสมรรถภาพทางจิตใจ มีข้อมูลการศึกษาทางการแพทย์ชี้ให้เห็นว่าผู้ชายที่มีเทสโทสเตอโรนต่ำมีแนวโน้มที่จะเผชิญกับภาวะซึมเศร้า หงุดหงิดง่าย หรือขาดสมาธิ

10. ความสามารถในการจดจำลดลง

แต่ก็อาจเกิดขึ้นได้ทั้งจากระดับเทสโทสเตอโรนที่ต่ำลง และอายุที่เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน

ภาพจาก iStock
ภาพจาก iStock

11. ขนาดลูกอัณฑะเล็กลง

...

ระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในร่างกายต่ำ อาจส่งผลให้อัณฑะมีขนาดเล็กกว่าค่าเฉลี่ยเมื่อเทียบกับผู้ชายที่มีระดับฮอร์โมนเพศชายปกติ

12. ความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงต่ำ

อาการเม็ดเลือดแดงต่ำส่งผลให้เกิดความเสี่ยงของ “ภาวะโลหิตจาง” ที่อาจเป็นต้นเหตุของอาการ สมาธิลดลง, เวียนศีรษะ, ตะคริวที่ขา, นอนไม่หลับ และอัตราการเต้นของหัวใจที่เร็วผิดปกติขึ้นได้

ปัจจัยเสี่ยงภาวะผู้ชายวัยทอง

ภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชายมีโอกาสเกิดขึ้นมากขึ้นในผู้ชายที่มีอายุเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงดังนี้

  • ผู้ที่มีความเครียดสูง หรือพักผ่อนไม่เพียงพอ
  • ผู้ที่มีเส้นรอบเอวมากกว่า 36 นิ้ว
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน หรือความดันโลหิตสูง
  • ผู้ที่มีบุตรยาก หรือโรคเรื้อรังอื่นๆ

การรักษาภาวะวัยทองในผู้ชาย ผู้ชายที่มีอาการดังกล่าวข้างต้น สามารถตรวจเช็กสุขภาพฮอร์โมนของตนเองเบื้องต้น โดยหมั่นสังเกตตัวเอง หากพบว่ามีความเสี่ยง ควรเข้ารับการตรวจระดับฮอร์โมนอย่างละเอียดกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อวางแผนการดูแลและรักษาที่เหมาะสม

ภาพจาก iStock
ภาพจาก iStock

สำหรับแนวทางการรักษาหากได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย แพทย์อาจพิจารณาการรักษาด้วยฮอร์โมนทดแทนร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เช่น การออกกำลังกายและการควบคุมอาหาร การใช้ฮอร์โมนทดแทน (Testosterone Replacement Therapy - TRT) ในปัจจุบันมีความปลอดภัยโดยมีวิธีการรักษา 3 แบบคือ

  1. การรับประทาน ซึ่งอาจมีผลต่อตับได้หากทานต่อเนื่องเป็นเวลานาน การดูดซึมค่อนข้างน้อย
  2. การฉีด เห็นผลเร็วแต่รูปแบบนี้ช่วงแรกฮอร์โมนอาจสูงและลดลงช่วงท้าย
  3. แบบทา ได้รับความนิยมมากขึ้นมีความปลอดภัย ใช้ง่าย ไม่เจ็บ สามารถใช้เองที่บ้าน ใช้ทาลงบนผิวหนังที่แห้งและสะอาด เช่น บริเวณหัวไหล่ ต้นแขน หรือหน้าท้อง โดยควรทาในเวลาเดียวกันทุกวัน เพื่อรักษาระดับฮอร์โมนให้คงที่

การฟื้นฟูฮอร์โมนให้กลับมาอยู่ในสมดุล ไม่ใช่แค่เรื่องของการรักษาเพียงวิธีเดียว แต่ต้องเดินคู่ไปกับการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ งดบุหรี่ เลี่ยงแอลกอฮอล์ และเรียนรู้ที่จะจัดการความเครียดอย่างมีสติ