จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในประเทศพม่าที่ส่งผลกระทบรุนแรงถึงประเทศไทยเมื่อช่วงบ่ายวันนี้ สิ่งที่สร้างความตื่นตระหนกให้แก่ประชาชนที่ล้วนกลายเป็นผู้ประสบภัยอย่างพร้อมเพรียงกันไม่ใช่แค่ความหวาดกลัว แต่คือมวลข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่หลั่งไหลอย่างท่วมท้นรวมถึงข่าวปลอมที่สร้างความสับสนแก่ผู้คนจำนวนมากโดยเฉพาะในโลกออนไลน์

การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องและทันท่วงทีจากหน่วยงานราชการจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อให้ประชาชนสามารถเตรียมพร้อมรับมือ ลดความตื่นตระหนก และปฏิบัติตามคำแนะนำได้อย่างเหมาะสม

ซึ่งหน่วยงานภาครัฐหลายแห่งมีบทบาทหน้าที่ในการเฝ้าระวัง ติดตาม รายงาน และแจ้งเตือนข้อมูลเกี่ยวกับแผ่นดินไหว รวมถึงให้ความช่วยเหลือเมื่อเกิดเหตุการณ์ ได้แก่

1. กรมอุตุนิยมวิทยา

เป็นหน่วยงานหลักที่มีหน้าที่ในการเฝ้าระวังและรายงานข้อมูลแผ่นดินไหวในประเทศไทย ซึ่งมีช่องทางหลากหลายในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและติดต่อกับประชาชน ดังนี้

  • เว็บไซต์ https://earthquake.tmd.go.th/  นำเสนอข้อมูลแผ่นดินไหวแบบเรียลไทม์ รวมถึงบันทึกเหตุการณ์แผ่นดินไหวในอดีต และข้อมูลทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ยังมีรายละเอียดเกี่ยวกับวันและเวลาที่เกิดแผ่นดินไหว ขนาดความรุนแรง (Magnitude) ตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ (ละติจูด ลองจิจูด) ความลึกของจุดศูนย์กลาง และบริเวณที่เกิดเหตุการณ์
  • สายด่วนแผ่นดินไหวที่เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง หมายเลข 1182 สายด่วนนี้เป็นช่องทางสำคัญสำหรับประชาชนในการสอบถามข้อมูลเร่งด่วนเกี่ยวกับแผ่นดินไหว
  • ศูนย์ปฏิบัติการแผ่นดินไหว (Earthquake Operating Center) สามารถติดต่อได้ที่หมายเลข 02-366-9410, 02-399-0969, 02-399-4547 และต่อภายใน 6381 ซึ่งเป็นศูนย์กลางการปฏิบัติงานด้านการเฝ้าระวังและติดตามแผ่นดินไหว
  • แอปพลิเคชัน EarthquakeTMD เพื่อแจ้งข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับแผ่นดินไหวและสึนามิแบบเรียลไทม์ พร้อมทั้งการแจ้งเตือนผ่าน Notification สามารถดาวน์โหลดได้ทั้งบนระบบปฏิบัติการ iOS และ Android
  • กรมอุตุนิยมวิทยามีหน้า Facebook สำหรับกองเฝ้าระวังแผ่นดินไหว ที่ https://www.facebook.com/EarthquakeTMD ซึ่งเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและประกาศต่างๆ เกี่ยวกับแผ่นดินไหว

...

ภาพจาก iStock
ภาพจาก iStock

2. ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ

ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (ศภช.) เป็นอีกหน่วยงานสำคัญที่มีหน้าที่ในการแจ้งเตือนภัยพิบัติทุกประเภท รวมถึงแผ่นดินไหวและสึนามิ

  • เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของ ศภช. คือ https://ndwc.disaster.go.th/  เป็นแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ภัยพิบัติ การแจ้งเตือน และข้อมูลติดต่อของ ศภช. ในเว็บไซต์ยังมีส่วนรายงานสถานการณ์ประจำวันและโทรสารแจ้งเตือนภัย ซึ่งเป็นประโยชน์ในการติดตามข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับภัยพิบัติ
  • ศภช. มีหมายเลขโทรศัพท์สายด่วน 1860 สำหรับประชาชนที่ต้องการสอบถามข้อมูลหรือแจ้งเหตุภัยพิบัติ นอกจากนี้ หมายเลขโทรศัพท์สายด่วน 1784 ซึ่งเป็นสายด่วนของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ก็เป็นอีกช่องทางที่สามารถติดต่อเพื่อขอข้อมูลหรือความช่วยเหลือเกี่ยวกับภัยพิบัติได้
  • ศภช. ร่วมกับกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้พัฒนาแอปพลิเคชัน THAI DISASTER ALERT เพื่อแจ้งเตือนภัยพิบัติแบบเรียลไทม์ รวมถึงแผ่นดินไหว สามารถดาวน์โหลดได้ทั้งบน iOS และ Android ผู้ใช้งานสามารถรับการแจ้งเตือนตามพื้นที่ที่สนใจ และรับข้อมูลเกี่ยวกับภัยพิบัติประเภทต่างๆ ได้

3. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย มีบทบาทสำคัญในการป้องกัน บรรเทา และช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ

  • หมายเลขโทรศัพท์หลักสำหรับติดต่อ ปภ. คือสายด่วนภัยพิบัติ 1784 ซึ่งเปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง สำหรับแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือ เป็นศูนย์กลางการติดต่อหลักสำหรับภัยพิบัติในประเทศไทย
  • ปภ. มีบัญชี Line Official ชื่อ @1784DDPM ซึ่งเป็นอีกช่องทางสำหรับประชาชนในการแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือ
ภาพจาก iStock
ภาพจาก iStock

4. กรมทรัพยากรธรณี

กรมทรัพยากรธรณี (ทธ.) มีหน้าที่ในการเฝ้าระวังและรายงานข้อมูลแผ่นดินไหว โดยเน้นในด้านธรณีวิทยาและดินถล่ม

  • สามารถติดต่อศูนย์ปฏิบัติการธรณีพิบัติภัยของ ทธ. ได้ที่หมายเลข 02 621 9701
  • รวมทั้งช่อง YouTube (@Geohazard_dmr)
  • และ LINE OpenChat (DMR ALERT) สำหรับเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับธรณีพิบัติภัย

...

นอกจากการติดตามข่าวสารแผ่นดินไหวจากช่องทางของหน่วยงานราชการแล้ว หน่วยงานเหล่านี้ยังมีการแถลงข่าวและให้ข้อมูลผ่านสื่อโทรทัศน์และวิทยุ เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นทางการ โดยนำเสนอข่าวสารและอัปเดตสถานการณ์แผ่นดินไหวสู่สาธารณะ การติดตามข่าวสารจากสื่อเหล่านี้ ควบคู่ไปกับการตรวจสอบข้อมูลจากช่องทาง official ของหน่วยงานราชการ จะช่วยให้ประชาชนได้รับข้อมูลที่ครบถ้วนและเชื่อถือได้

การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารแผ่นดินไหวจากหน่วยงานราชการเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับความปลอดภัยและการเตรียมพร้อมของประชาชน หน่วยงานต่างๆ ในประเทศไทยมีช่องทางการติดต่อหลากหลายรูปแบบ